วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทความวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ





วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

1.ข้อมูลพื้นฐานและสาระสำคัญของวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
            1. ประวัติความเป็นมา
    วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่มี คุณธรรม คุณภาพ และทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยและประเทศไทย วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ มุ่งมั่นที่จะสร้าง ความเป็นเลิศทางความคิด ( ปัญญาและความดี ) ทางวิชาการ ( ความรู้ สู่อาชีพ ) และการดำรงชีวิต ( การปฏิบัติสู่ความสุข) ควบคู่กันไปทั้งสามด้าน เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยคุณภาพแห่งชีวิต จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้บริหารและคณะอาจารย์ในกลุ่มโรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ ซึ่งมีทั้งหมด 6โรงเรียนได้แก่
1. โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ
2. โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ
3. โรงเรียนโปลีเทคนิคระยอง
4. โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจกาญจนบุรี
5. โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ
6. โรงเรียนเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ ชลบุรี
ผู้บริหารในกลุ่มโรงเรียนข้างต้นนี้ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษา และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติ จึงพร้อมกันจัดตั้งวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาขึ้นในเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยเปิดดำเนินการสอนเมื่อ ปีพุทธศักราช 2549 ในคณะบริหารธุรกิจ เป็นคณะแรก
วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เลขที่ 489 ถนนประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร 10520 โทรศัพท์ : 02-327-0155-8 โทรสาร : 02-327-0159E-m ail : www.bsc.ac.th
เพื่อกำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิจึงได้กำหนด ปรัชญา
ปณิธาน วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และพันธกิจ เพื่อการดำเนินงานของวิทยาลัย ดังนี้
          2. ปณิธาน : พัฒนาความรู้ คู่คุณธรรม มีความสุข รักความเป็นไทย
          3. วัตถุประสงค์ของวิทยาลัย
3.1 เพื่อผลิตบัณฑิต ให้มีความรู้และทักษะดีในสาขาที่ตนถนัด ใส่ใจเพิ่มเติมความรู้ให้ทันสมัย
3.2 เพื่อ ศึกษา วิจัย สร้างนวัตกรรม ใช้พัฒนาการศึกษา และให้ประโยชน์ต่อสังคม
3.3 เพื่อ เป็นศูนย์วิชาการ ให้บริการแก่สังคม
3.4 เพื่อ ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
3.5 เพื่อ ฝึกอบรม ให้บัณฑิตมี คุณธรรม เป็นหลักในการดำเนินชีวิตด้วย ความพอเพียง มีน้ำใจ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3.6 เพื่อให้นักศึกษามี ความกตัญญู บุพการี ผู้มีคุณ และรู้คุณแผ่นดิน
          4. วิสัยทัศน์
โดยอาจารย์ที่มีคุณภาพ และความพร้อมด้านปัจจัยประกอบอื่น ๆ ผลิตบุคลากรให้เป็นคนมีความรู้ ภาคทฤษฏี มีทักษะภาคปฏิบัติ เป็นคนดี มีคุณธรรมความซื่อสัตย์ มีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและเพื่อนมนุษย์ ด้วยหลักการพื้นฐานที่มั่นคง มีนิสัยชอบแสวงหาความรู้ เพิ่มเติมให้ตนเองตลอดชีวิตทันต่อสภาวการณ์ นำไปใช้ในการปฏิบัติภารกิจ หรือประกอบอาชีพอิสระ เพื่อดำเนินชีวิตของตนให้มีความสุขบนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม ช่วยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ดีงามให้กับสังคมมนุษย์
          5. พันธกิจของวิทยาลัย
5.1พัฒนาหลักสูตร ให้มีความหลากหลายสนองความต้องการของผู้เรียน และสังคม ใช้วิธีการสอนการเรียนที่มีประสิทธิภาพ ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
5.2 สร้างนักวิจัย และส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเป็นประโยชน์ต่อสังคม
5.3 ส่งเสริมปัจจัยเกื้อหนุน การเรียนรู้และการวิจัย โดยเฉพาะระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีอื่นๆ
5.4 สร้างเครือข่ายความร่วมมือ กับชุมชน หน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
5.5 ส่งเสริมทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาไทย
5.6 พัฒนา ระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยมีความมั่นคงต่อสถาบัน
          6. ปรัชญา คุณธรรม ปัญญา ความสุข
บัณฑิตของวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิจะมีคุณสมบัติ เด่น 3 ประการในการดำเนิน ชีวิต
คุณธรรม : ประพฤติตนอยู่ในกรอบของศีลธรรม มีวินัยมีความรับผิดชอบ อดทนซื่อสัตย์ ประหยัด กตัญญู และมีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์
ปัญญา : มีความรู้จริง ปฏิบัติได้ ชอบแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต พัฒนาตนให้ทันต่อสภาพการณ์ ประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง
ความสุข : ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข บนพื้นฐานของผู้มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองครอบครัวและสังคมประเทศชาติ
BSC ใช้ปัญญา เป็นอาวุธ BSC สู่สูงสุด ด้วยคุณธรรม
BSC สร้างสรรค์ชีวิต มีสุขล้ำ BSC เป็นผู้นำหนึ่ง ในสังคม
          7. เอกลักษณ์ของนักศึกษา BSC
BSC เป็นสุภาพชน
BSC มีมาดภูมิฐาน
BSC มีน้ำใจให้บริการ
          8. เครื่องหมาย สีและต้นไม้ประจำวิทยาลัย
เครื่องหมายของ วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ หมายถึง สถาบันการศึกษาอันทรงคุณค่าบนแผ่นดินทอง
8.1 เครื่องหมายประจำวิทยาลัย ประกอบด้วย เกลียวเชือก ดวงอาทิตย์ หนังสือ ตรีอัยวิทย์
ความหมายของสัญลักษณ์
เกลียวเชือก : ความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออาทรต่อกันฉันท์พี่น้อง
ดวงอาทิตย์ : แสงแห่งความสดใส เจริญรุ่งเรืองเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และชื่อเสียงของสถาบัน
หนังสือ : แหล่งรวมความรู้
ตรีอัยวิทย์ : พลังจักรวาล ความเจริญก้าวหน้าบนพื้นฐานทาง เศรษฐกิจ
8.2 สีประจำวิทยาลัย คือ
สีแดง : ความเป็นชาติ ความเจริญรุ่งเรือง และความตระหนักถึงบุญคุณแห่งแผ่นดิน
สีขาว : ความบริสุทธิ์ โปร่งใส มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นหลักนำในชีวิต
สีทอ : ยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่ เคารพรักยิ่งของ ประชาชนชาวไทย
8.3 สีประจำคณะ คือ
คณะบริหารธุรกิจ : สีฟ้า
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : สีเหลือง
8.4 ต้นไม้ประจำวิทยาลัย คือ ต้นกัลปพฤกษ์ (ชื่อสามัญ : Pink Cassia, Pink Shower)เป็นต้นไม้ยืนต้น ซึ่งเป็นไม้พื้นถิ่นของไทย ลำต้นสีเทาอมน้ำตาล ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งสีชมพู ชมพูเข้ม และจะเปลี่ยนเป็นสีขาวก่อนโรย ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เป็นไม้สิริมงคล บ่งบอกถึง คุณธรรม ความสงบ และความสดชื่น แห่งชีวิต
กรรมการสภาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
สมัยที่ 1
1. นายเผ่าพงษ์สันติ์ แสงหิรัญ นายกสภาวิทยาลัย
2. นางพิศมัย แสงหิรัญ กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
3.นายบัญชา เกิดมณี อุปนายกสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
4. รองศาสตราจารย์ผ่องพรรณ รัตนธนาวันต์ กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
5. รองศาสตราจารย์ปกรณ์ พลาหาญ กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
6. นายฉัตรชัย แสงหิรัญ กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
7. นายเอกมล แสงหิรัญ กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
8. นายศิริ ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมการ สภาวิทยาลัยผู้แทนคณาจารย์
9. นายโอภาส เขียววิชัย กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
10. นายสุรินทร์ จิรวิศิษฏ์ กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
11. นายโกศล วิชิตธนาฤกษ์ กรรมการสภาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
12. นางณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา เลขานุการสภาวิทยาลัย

2.เนื้อหาของหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
หลักสูตร
ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

การศึกษา
   
การศึกษาเปรียบคือ เครื่องมือช่าง                                       ต้องสรรสร้างคุณภาพสมศักดิ์ศรี
วันข้างหน้าใช้ทำกิน เลี้ยงชีวี                                              อาชีพดี ผู้คนล้นศรัทธา
การศึกษา ไม่มี วันเพียงพอ                                                   ศึกษาต่อจนสิ้น ดินกลบหน้า
ยิ่งรู้มาก สรรพสิ่ง น่าศึกษา                                                    มากปัญญา นำพา ให้ร่ำรวย
ศึกษาสูง เลือกงานได้ หลายหลาก                                       ไม่นานมาก ขั้นสูง ขึ้นตามด้วย
ค่าตอบแทน สูงตาม เป็นตัวช่วย                                           เริ่มต้นสวย ครองงานเป็น ดีเด่นเอย
                                                                                                                   อาจารย์ศิริ ทรัพย์สมบูรณ์

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
หลักสูตร พ.. 2552
วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
          1. ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูGraduate Diploma of Teaching Professional
          2. ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็ม ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูGraduate Diploma of Teaching Professional
ชื่อย่อ .บัณฑิต (วิชาชีพครู)Grad.Dip. (Teaching Professional)
          3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ ( Bangkok Suvarnabhumi College )
          4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
4.1 ปรัชญาของหลักสูตรสร้างและพัฒนาผู้นำที่เข้าใจการศึกษาอย่างลึกซึ้ง และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความ
เป็นสากล เข้าถึงบริบท ทางวัฒนธรรม เป็นเลิศทางการบริหารวิชาการ และเปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรม
4. 2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อให้มีความรู้และประสบการณ์ในวิชาชีพครูแก่ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มี คุณวุฒิตามมาตรฐาน ความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพของคุรุสภา
2. เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่และพัฒนาเส้นทางวิชาชีพครูให้มีความก้าวหน้า
3. เพื่อสร้างศรัทธาและจรรยาบรรณในวิชาชีพครู
4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู และผู้สนใจเข้ามาศึกษาเพื่อนำความรู้ไปประกอบวิชาชีพ
                5. กำหนดการใช้หลักสูตรหลักสูตรนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2552
          6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือสำนักงาน ก..รับรอง และให้เป็นไปตามที่คุรุสภากำหนด หรือ ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูของวิทยาลัย ให้เข้าศึกษาได้ตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด
                7. ระบบการศึกษา
เป็นการศึกษาแบบ Block-Course เรียนครั้งละ 2 วิชา หรือ 3 วิชา โดยเรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือเฉพาะวันอาทิตย์ ระยะเวลาเรียน วิชาละ 5 สัปดาห์ เวลา 08.00 – 20.00 .
7.1 การคิดหน่วยกิต
7.1.1 รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15ชั่วโมงมีค่า เท่ากับ 1 หน่วยกิต
7.1.2 รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
7.1.3 การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนามที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
7.1.4 การค้นคว้าอิสระที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ1หน่วยกิต
           8. ระยะเวลาการศึกษา
8.1 หลักสูตรนี้ใช้เวลาการศึกษา 1 ปี
8.2 การศึกษาตลอดหลักสูตร จะต้องสอบได้หน่วยกิต ไม่น้อยกว่าหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 3 ปีการศึกษา
            9. การลงทะเบียนเรียน
ให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนภาคเรียนละไม่เกิน 12 หน่วยกิต จนครบทุกวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรการขอเพิ่มหรือขอถอนรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนแล้ว ให้เป็นไปตามระเบียบที่วิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา
           10. การวัดผล
10.1 การวัดผลการศึกษาอาจกระทำได้ โดยการสอบ หรือจัดทำโครงการ หรือเข้าร่วมอภิปรายในชั้น หรือทุกอย่างที่กล่าวข้างต้นรวมกัน  
10.2 การวัดผลการศึกษาแบ่งเป็นระดับ มีระดับและค่า ดังต่อไปนี้ระดับ ค่าระดับ ความหมาย
                                  A                      4.00                                 ดีเยี่ยม             (Excellent)
                                  B+                    3.50                                 ดีมาก              (Very Good)
                                  B                      3.00                                  ดี                     (Good)
                                  C+                   2.50                                  ดีพอใช้           ( Fairly Good)
                                  C                     2.00                                  พอใช้              (Fair)
                                  D+                  1.50                                  อ่อน                (Poor)
                                  D                    1.00                                  อ่อนมาก          (Very Poor)
                                  F                     0.00                                  ตก                   (Fail)
           สำหรับนักศึกษาที่ได้ระดับคะแนน ต่ำกว่า B ในรายวิชาบังคับ จะต้องศึกษาใหม่จนกว่าจะได้ระดับคะแนนB ขึ้นไป
10.3 การวัดผลการศึกษาสำหรับวิชาที่ไม่นับหน่วยกิต ให้แบ่งเป็น 2 ระดับ คือระดับ S (Satisfactory) สอบผ่านระดับ U (Unsatisfactory) สอบไม่ผ่าน โดยไม่มีค่าระดับ
10.4 ผลการศึกษาอาจจะแสดงสัญลักษณ์ และความหมายอื่น ๆ ได้ดังต่อไปนี้สัญลักษณ์ ความหมาย I Incomplete การวัดผลยังไม่สมบูรณ์(ใช้ในกรณีนักศึกษาปฏิบัติงานไม่ครบภายในเวลา ที่กำหนด หรือขาดสอบโดยมีเหตุสุดวิสัยบางประการ) AU Audit ร่วมฟังการบรรยายW Withdraw with Permission การถอนวิชาโดยได้รับอนุมัติการวัดผลการศึกษาของนักศึกษาทุกวิชา ทุกครั้ง จะต้องบันทึกไว้ในระเบียน
10.5 การเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตการเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิต สำหรับหลักสูตรระดับัณฑิตศึกษาเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
          11. สถานที่และอุปกรณ์การสอน  อาคารเรียนรวม วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
          12. หลักเกณฑ์การใช้รหัสวิชาในหลักสูตร
12.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู(Graduate Diploma of Teaching Professional)“ปวค.” หรือเป็นภาษาอังกฤษ “GDT” นำหน้าตัวเลขทุกรายวิชาในหลักสูตร และให้มีความหมายดังต่อไปนี้
เลข 3 หลัก จาก 400 ขึ้นไป หมายถึง รายวิชาในระดับ ป.บัณฑิต
เลข 2 หลัก จาก 10 ขึ้นไป หมายถึง วิชาบังคับ
เลข 1 หลัก หลักหน่วย หมายถึง ลำดับที่ของรายวิชา
12.2 คำอธิบายตัวเลขที่แสดงหน่วยกิตของวิชา ชั่วโมงการบรรยาย และการปฏิบัติการปรากฎอยู่หลังรายชื่อวิชานั้นๆ มีความหมายดังนี้
เลขนอกวงเล็บ           หมายถึง จำนวนหน่วยกิตของรายวิชา
เลขตัวแรกในวงเล็บ   หมายถึง จำนวนชั่วโมงการบรรยายในชั้นเรียนต่อสัปดาห์
เลขตัวที่สองในวงเล็บ หมายถึง จำนวนชั่วโมงการปฏิบัติหรือค้นคว้าอิสระต่อสัปดาห์
          13. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
13.1 ศึกษาและสอบได้ครบถ้วนตามหลักสูตร ซึ่งมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
13.2 ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
13.3 ได้ผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
13.4 มีความประพฤติเรียบร้อย และมีคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสม
13.5 ไม่มีพันธะใด ๆ กับทางวิทยาลัย
13.6 นักศึกษาผู้คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในแต่ละปีการศึกษา ให้ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอรับใบประกาศนียบัตรต่อวิทยาลัยล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนสิ้นภาคเรียนสุดท้ายของหลักสูตร
          14. งบประมาณ
งบประมาณค่าใช้จ่ายต่อหัว ตามหลักสูตรเท่ากับ 25,000 บาท
          15. ห้องสมุด แสงหิรัญ
15.1 ใช้ ห้องสมุดแสงหิรัญที่ มีพื้นที่ 510 ตารางเมตร มีจำนวนที่นั่ง 100 ที่นั่งมีจำนวนหนังสือทั้งสิ้น 5,000 เล่ม และมีหนังสือทางด้านบริหารการศึกษาและการศึกษาทั่วไป ประมาณ 200 เล่ม มีงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่ใช้ค้นคว้าได้ ประมาณ 100 เล่มมีการจัดที่นั่งให้นักศึกษาใช้ในการค้นคว้าเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะซึ่งแยกที่นั่งเป็น เอกเทศแยกออกจากนักศึกษาปริญญาตรี
          16. โครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
16.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 24 หน่วยกิตประกอบด้วยวิชาชีพครูบังคับ 24 หน่วยกิตตามเกณฑ์ของครุสภา ดังนี้
รหัสวิชา                                               ชื่อวิชา                                                                               หน่วยกิต
1. GDT401                              ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู                                                  3(3-3)
                                                   Language and Technology for Teachers
2. GDT402                              การพัฒนาหลักสูตร                                                                       3(3-3)
                                                   Curriculum Development
3. GDT403                              การจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการในห้องเรียน             3(3-3)
                                                   Learning and Classroom Management
4. GDT404                              จิตวิทยาสำหรับครู                                                                          3(3-3)
                                                   Psychology for Teachers
5. GDT405                               การวัดและประเมินผลการศึกษา                                                  3(3-3)
                                                    Education Measurement and Evaluation
6. GDT406                               การวิจัยทางการศึกษา                                                                      3(3-3)
                                                    Educational Research
7. GDT407                               นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา                 3(3-3)
                                                    Innovation and Information Technology in Education
8. GDT408                               ความเป็นครู                                                                                      3(3-3)
                                                    Professional Teacher Actualization

ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพครู จะต้องเรียนรายวิชา ต่อไปนี้
GDT409                                  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 1                                                 3(180)
                                                  Teaching Professional Practicum 1
GDT410                                  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู                                                 3(180)
                                                  Teaching Professional Practicum 2

16.2 ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 360 ชั่วโมงใน 1 ปี และจะต้องมีชั่วโมงปฏิบัติการสอนจริงไม่น้อยกว่า 210 ชั่วโมงใน 1 ปี ( สำหรับผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพครู )สำหรับผู้ที่ประกอบวิชาชีพครูให้สถานศึกษาในสังกัดรับรองการปฏิบัติงาน และสถานศึกษานั้นต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

ผู้มีการศึกษาดี ย่อมมีทางเลือกได้มากกว่า
- ดร.วิศิษฐ์ แสงหิรัญ
3.สิ่งที่ได้จากการเรียนประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
1.ได้รับความรู้ในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ เพิ่มเติม และเป็นแนวทางที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพครู
2.ได้รับความรู้เพิ่มตามของหลักสูตรของการศึกษาของไทยว่ามีหลักสูตรอย่างไรบ้าง
3.ได้รับความรู้และประสบการณ์ในการขียนแผนการสอนว่ามีขั้นตอนเขียนอย่างไร
4.ได้รับความรู้ในการวัดและประเมินผลว่ามีการวัดและประเมินผลอย่างไร
5.ได้รับความรู้ในการออกข้อสอบควรจะออกข้อสอบควรออกอย่างไร
6.ได้รับความรู้และประสบการณ์จัดทำวิจัยว่ามีรูปแบบการจัดทำอย่างไร และนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน
7.ได้รับความรู้ในการจัดทำสื่อต่างๆ เช่นสื่อคอมพิวเตอร์ การใช้อินเตอร์เน็ต การจัดทำเว็บบล็อกต่างๆ

8.ได้รับประสบการณ์ การเป็นครูในการไปฝึกสอนที่โรงเรียนนราทรระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ในวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ทำให้ได้รับประสบการณ์ในการสอนเป็นอย่างมากเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับการเป็นครูในอนาคตเป็นอย่างดี
9.จากการเรียน ป.บัณฑิต ทำให้มีเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ต่างอายุ ต่างสถานที่ ทำให้มีความผูกพันธ์  ได้ทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานเป็นทีมว่าต้องมีความสามัคคีกันงานจึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นความทรงจำที่ดีเป็นสิ่งที่หน้าจด


1 ความคิดเห็น: